รายละเอียด:
สุดยอดเหรียญ 18 อรหันต์ พระวัดสุทัศน์เทพวราราม ครบชุด
วันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ.2539

วัดเส้าหลินโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงด่าน 18 อรหันต์, ค่ายกล 18 อรหันต์, 18 ด่านมนุษย์ทองคำและการฝึกเพลงหมัดมวยในสมัยโบราณ เมื่อหลวงจีนสำเร็จวิชาถึงขั้นสูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝ่าด่าน 18 อรหันต์ให้ได้เสียก่อน จึงจะถือว่าสำเร็จวิชากังฟูจากวัดเส้าหลินอย่างแท้จริง และสามารถเดินทางลงจากเทือกเขาซงซานได้ แท้จริงแล้วคำว่า "18 อรหันต์" ที่ปรากฏในภาพยนตร์จีนและนวนิยายกำลังภายในในวัดเส้าหลินคือพระพุทธรูปจำนวน 18 องค์ที่ประดิษฐานล้อมองค์พระประธานในอารามหลวง
ในอารามหลวงต้าโสวงเป่าเตี้ยนหรือพระอุโบสถใหญ่ในพระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาท หรือมหายาน บริเวณกึ่งกลางของอุโบสถ จะประดิษฐานพระประธานสามองค์คือ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์มัญชุศรี และพระโพธิสัตว์โลเกศวร บริเวณด้านขวามือของพระประธานทั้งสามองค์ จะเรียงรายด้วยรูปสลักของพระจำนวน 18 องค์ ซึ่งคือ 18 อรหันต์ โดยคำว่าอรหันต์หมายถึงสาวกจำนวน 16 รูปของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาสายมหายาน
คำว่า "อรหันต์" อ่าน "อะ-ระ-หัน" เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ในทางพระพุทธศาสนา การบำเพ็ญตนเพื่อสำเร็จมรรคผลนั้นไม่เหมือนกัน จึงมีการแบ่งความสำเร็จในการเข้าถึงมรรคผลที่แตกต่างกัน การสำเร็จขั้นอรหันต์นั้นถือเป็นการสำเร็จขั้นสูงสุดของการบำเพ็ญตนเองในพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน สำหรับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน การสำเร็จขั้นอรหันต์แบ่งออกเป็นขั้นพุทธโพธิสัตว์และขั้นอรหันต์ ซึ่งการสำเร็จมรรคผลในขั้นอรหันต์คือ จะต้องสามารถละกิเลสต่าง ๆ และสิ่งเศร้าหมองทั้งหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงด้วยคุณธรรมและพระพุทธศาสนา หลุดพ้นจากวงจรชีวิตการเวียนว่ายตายเกิด จึงเรียกว่าสำเร็จขั้นอรหันต์

เดิมทีพระอรหันต์มีทั้งหมด 16 องค์ ซึ่งยังไม่สำเร็จขั้นปรินิพพาน คงอยู่ในโลกมนุษย์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาและธรรมะแก่มนุษย์โลก ได้แก่
องค์ที่ 1ปินโฑลภารัทวาช แปลว่า ก้อนข้าวผู้รับทาน ภารัทวาชเป็นสกุลใหญ่ 1 ใน 18 ของพราหมณ์
สถิตอยู่อมรโคยานทวีปพร้อมด้วยพระอรหันต์อีก 1,000 องค์ เป็นบริวาร ท่านได้แสดงปาฏิหารย์ หยิบบาตรไม้จันทน์บนยอดเขาสูง ความทราบถึงพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า แสดงปาฏิหารย์เพื่อบาตรไม้จันทน์ต่อหน้าพวกที่ยังมิได้รับศีล จึงขับออกไปเสียจากชมพูทวีปไปอยู่ทวีปอมรโคยาน ต่อมา บรรดาสาวกคิดถึงท่าน จึงขอให้กลับมา พระพุทธองค์ก็ยอมอนุโลมให้กลับมาแต่ไม่ให้เข้าปรินิพพาน ต้องดำรงขันธ์เป็นเนื้อนาบุญต่อไป เพื่อพิทักษ์พระศาสนาจนกว่าพระศรีอารยจะมาตรัส ฉะนั้นการสักการบูชาท่านจึงได้กุศลมาก ลักษณะพิเศษของท่าน คือถ้ามีผู้ใดเลี้ยงพระ ท่านก็จะปลอมแปลงเป็นพระธรรมดาแอบเข้าไปร่วมรับประทานด้วย รูปเป็นผอมเห็นซี่โครง บ้างยืน บ้างนั่ง มือถือหนังสือ อีกมือถือบาตร หรือมือทั้งสองถือหนังสือ หรือวางบนเข่า บ้างยืนในท่าหยิบบาตร
องค์ที่ 2 กนกวัจฉ แปลว่าลูกโคทอง
สถิตอยู่แคว้นกัศมีระ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก 500 องค์เป็นบริวาร ท่านเป็นสาวกที่สารถในทางรู้แจ้งบรรดาลัทธิธรรมต่าง ๆ และเป็นผู้ทรมานร่างกายได้ดี สามารถนั่งเข้าฌาณในกลางฝนได้ รูปท่านเป็นรูปห้อยเท้าขวา มือขวาวางบนเข่า มือซ้ายวางที่ฝ่าเท้าซ้าย

องค์ที่ 3 กนกภารัทวาช เป็นชื่อฤษี 1 ใน 7 มหาฤษี
สถิตอยู่แคว้นบูรพวิเทพ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 600 องค์เป็นบริวาร รูปท่านนั่งห้อยเท้า เท้าซ้ายยกขึ้นจากรองเท้า มือขวาวางอยู่บนเข่า มือซ้ายอยู่ข้างหูเป็นรูปคนแก่ผมยาว
องค์ที่ 4 สุปินฑ
สถิตอยู่อุตตรกุรุทวีป พร้อมด้วยอรหันต์ 700 เป็นบริวาร ท่านองค์นี้อาจจะเป็นพระสุภัทร ซึ่งเป็นพราหมณ์ชาวเมืองกุสินารา บรรลุพระอรหันต์ เมื่ออายุ 120 ปี โดยสดับพระธรรมเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประชวรหนักจวนเสด็จดับขันธ์ ท่านสุภัทรไม่ต้องการจะเห็นพระอริยสาวกองค์สุดท้าย รูปเป็นคนแก่นั่งเข้าสมาธิ มือถือหนังสือบ้างทำเป็นรูปนั่งธรรมดา มีบาตรและกระถางธูปอยู่ข้างหนึ่ง มือซ้ายถือหนังสือ มือขวาทำมุทราดีดนิ้ว บ้างยกมือขวาหงาย

องค์ที่ 5 นกุล แปลว่า พังพอน
สถิติอยู่ชมพูทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์ 800 องค์ เป็นบริวาร ท่านชอบอยู่โดดเดี่ยว ถือการธุดงค์เป็นพรต ไม่มีศิษย์ไม่เคยเทศนา ไม่ของอยู่ปะปนกับใคร ไม่เคยอาพาธ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นศิษย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ 160 ปี ทั้งนี้เพราะเมื่อสมัยพระวิปัสสีพุทธ ท่านได้ถวายเภสัชแก่ภิกษุผู้อาพาธ ท่านไม่เคยเทศนาโปรดใครนั้น เพราะท่านเห็นว่าพระสารีบุตร พระอานนท์และพระมหาสาวกองค์อื่น ๆ เทศนาได้ดีแล้ว ท่านจึงไม่จำเป็นต้องเทศน์ รูปท่านเป็นนั่งห้อยเท้า มีพังพอนอยู่ข้าง ๆ บ้างเป็นรูปกบสามขาอยู่ใต้รักแร้บ้างเป็นรูปเข้าฌาณ มีเด็กน้อยอยู่ข้างหนึ่งหรือแบมือทั้งสองข้าง
องค์ที่ 6 ภัทร แปลว่า ประเสริฐ
สถิตอยู่ตามระทวีปพร้อมด้วยพระอรหันต์ 900 องค์ บ้างว่าท่านเป็นพระญาติพระพุทธเจ้าบ้างว่ามีสกุลสูง เป็นมหาสาวกองค์หนึ่งสามารถอธิบายอรรถธรรมที่ลึกซึ้งด้วยคำพูดงง่าย ๆ รูปท่านเป็นรูปนั่งห้อยเท้า ถือหนังสือมีอยู่ข้าง ๆ แสดงว่าท่านปราบเสือได้บ้างทำเป็นรูปมีขนคิ้วยาว ประณมมือ

องค์ที่ 7 กาลิก แปลว่า เวลา ชั่วเวลา
สถิตอยู่สังฆ ฏทวีปพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,000 องค์ ท่านเป็นที่นับถือ แห่งพระเจ้าพิมพิสาร รูปท่านเป็นรูปนั่งห้อยเท้าหรือเข้าฌาณบ้างถือหนังสือหรือใบไม้ บ้างทำเป็นรูปคิ้วยาวลงมาจนลากดิน ต้องใช้มือถือไว้ บ้างฉาบทั้งสองมือ
องค์ที่ 8 วัชรบุตร
สถิตอยู่บรรณทวีป พร้อมพระอรหันต์ 1,,100 องค์เป็นบริวาร รูปห้อยเท้า ถือไม้เท้าขักขระ ไม้เท้านี้บนยอดมีโลหะมีชองเป็นวงกลมสำหรับร้อยแหวนโลหะ เมื่อเขย่าจะเกิดเสียงเวลาเดินทางในป่า จะทำให้จำพวกสัตว์เลื้อยคลานได้ยินเสียงจะตกใจแล้วหลีกหนีไป

องค์ที่ 9 สุปากะ
สถิตอยู่กลางเขาคันธมาทน์พร้อมด้วยพระอรหันต์ 900 องค์ ในหนังสือเถรคาถา มีชื่อโสปากะอยู่องค์หนึ่ง เนื่องด้วยตอนจะคลอดมาดาสลบไปผู้คนเข้าใจว่าตาย จึงนำไปทิ้งที่ป่า เมื่อท่านคลอดออกมามารดาก็ถึงแก่กรรมไปจึงชื่อว่าโสปากะ แปลว่าอันเขาทิ้งแล้ว เมื่อท่านอายุได้ 7 ปี ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าสั่งสอนก็เลื่อมในแล้วออกบรรพชา ภายหลังได้บรรลุพระอรหันต์ เป็นสาวกองค์หนึ่ง รูปท่านนั่งห้อยเท้า มือถือหนังสือหรือพัด ข้าง ๆ มีอรหันต์องค์เล็ก หรือทั้งสองมือถือลูกประคำ
องค์ที่ 10 ปันถก แปลว่าทาง บ้างเติมคำมหาเป็นมหาปันถก
สถิตที่สวรรค์ตรัยตรึงพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1300 องค์ เป็นบริวาร ท่านเป็นบุตรของพราหมณี พราหมณีนี้ออกลูกที่ใดก็ตายทุกคราว ครั้งหลังจึงไปคลอดที่ถนนใหญ่แล้วได้บุตรคือท่านเอง ท่านมีฤทธิ์ชำแรกกายเข้าของแข็งได้นิรมิตไฟน้ำได้เดินเหินในอากาศได้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสให้ไปปราบพญานาค ท่านยังเป็นองค์ที่ยอดเยี่ยมด้วยปัญญา สามารถแก้ความสงสัยในอรรถธรรมให้แจ่มแจ้งได้ เป็นเอตทัคคะสาวกองค์หนึ่ง รูปท่านนั่งห้อยเท้าบนหลังสิงห์ บ้างนั่งห้อยเท้ากำลังทรมานพญานาคให้เหข้าอยู่ในบาตร บ้างนั่งใต้ต้นไม้ มือถือหนังสือ บ้างเป็นรูปนั่งเข้าฌาณ

องค์ที่ 11 ราหุล
สถิตอยู่ยังปริยังคุปทวีปพร้อมด้วยอรหันต์ 1,100 องค์บริวาร ท่านเป็นพุทธชิโนรส พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ท่านจะได้ไปเกิดเป็นเชษฐโอรส ของพระอานนท์ ฉะนั้น จึงมีสมญาว่า โอรสพระอานนท์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จพระปรินิพพาน ท่านได้เป็นคณาจารย์นิกายไวภาษิก และเป็นที่เคารพของบรรดาสามเณร ท่านเป็นเอตทัคคะมหาสารวก ศึกษาในธรรมวินัย และประพฤติปฏิบัติเคร่งครัด รูปท่านบ้างทำเป็นผู้มีศรีษะโต ตาโต จมูกเป็นขอ บ้างก็เป็นรูปคนธรรมดา มือทั้งสองอุ้มเจดีย์
องค์ที่ 12 นาคเสน
สถิตอยู่เขาปาณฑพแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,200 องค์เป็นบริวาร ท่านเป็นผู้มีสง่า มีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้ปัญหาธรรม มีความรู้ลึกซึ้ง ดูเหมือนจะเป็นคนเดียวกันกับพระนาคเสน ในมิลินทปัญหา รูปนั่งห้อยเท้า มือซ้ายยกสูงเพียงหู มือขวาอยู่บนเข่า

องค์ที่ 13 อิงคท
สถิตอยู่ภูเขาไวบูลยบราณศว์พร้อมด้วย พระอรหันต์ 1,300 องค์ เป็นบริวาร ท่านองค์นี้ หากเป็นองค์เดียวกันกับพระอังคช ก็เป็นมหารสาวกเช่นกัน และเป็นองค์ที่บริบูรณ์ในสิ่งทั้งปวง รูปนั่งห้อยเท้า อ้วนสมบูรณ์ ร่าเริง แต่บ้างก็เป็นรูปพระแก่ถือไม้เท้า บ้างถือหนังสือบ้างบาตร
องค์ที่ 14 วันวาสี แปลว่าอยู่ป่า
สถิตอยู่ภูเขาวัตสะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,400 องค์ เป็นบริวาร ยังหาเรื่องราวของท่านไม่ได้ ดูเหมือนจะเป็นองค์เดียวกับพระวัจนะ ซึ่งชอบอยู่ตามป่า รูปนั่งห้อยเท้าอยู่ที่ปากถ้ำ หลับตาเหมือนเข้าฌาณ บ้างทำนิ้วมุทรา (ท่านิ้วหงิกงอ) บ้างวางบนเข่า บ้างถือหนังสือ

องค์ที่ 15 อชิต แปลว่าชนะไม่ได้
สถิตอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,500 องค์เป็นบริวาร ยังหาเรื่องราวของท่านไม่ได้ ในคราวทุติยสังคายนา ยังมีภิกษุองค์หนึ่งชื่อเดียวกันกับท่าน ในเถรคาถามีพระอชิตเถระเป็นบุตรของพราหมณ์ คำว่า อชิต เป็นนามพระศรีอารย รูปนั่งห้อยเท้า แก่ ขนคิ้วยาว มือวางบนเข่า บ้างนั่งเข้าฌาณ ที่หน้าอกมีรูปหน้าคน ยังไม่ทราบว่ามีความหมายอะไร
องค์ที่ 16 จูฑะปันถก บ้างเติมคำว่า จูฬ แปลว่า คนทางเล็ก
สถิตอยู่ที่ภูเขาเนมินธรพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,600 องค์ เป็นบริวาร เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เมื่อแรกอุปสมบทปัญญาโง่ทึบท่องจำอะไรไม่ได้แม้แต่ประโยคเดียว แต่ต่อมา ได้บรรลุอรหัตตผลเชี่ยวชาญในวิชามโนยิทธิ เรื่องราวของท่านปรากฏอยู่อสีติมหาสาวก รูปนั่งห้อยเท้า มือขวาถือถ้วย มีนกกำจิกน้ำ

พระอรหันต์ทั้ง 16 องค์นี้ มีพระปิณโฑดำรงตำแหน่งหัวหน้าพระอรหันต์ และพระปันถกหนึ่งใน 16 อรหันต์คือพระเมตไตรย ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง 16 องค์ในอารามหลวงวัดเส้าหลินตรงกับพระอรหันต์ที่พระราชวังปักกิ่ง และต่อมาได้มีการเพิ่มพระนนทมิตรและพระปินโทลขึ้น ทำให้จากเดิมพระอรหันต์มีเพียง 16 องค์กลายเป็น 18 องค์ จากหลักฐานทางพระพุทธศานาระบุไว้ไม่เหมือนกัน บ้างเรียกพระอรหันต์ทั้งหมดรวมกันว่า 18 อรหันต์ บ้างว่าเป็นศากกะและพระสงฆ์ถุงผ้า
ต่อมาจักรพรรดิเฉียนหลง (จีน: 乾隆) ในปี พ.ศ. 2278 - พ.ศ. 2339 ถือพระอรหันต์องค์ที่ 17 เป็นอรหันต์สยบมังกร องค์ที่ 18 เป็นองค์ปราบเสือคือองค์พระสังกัจจายน์ การถือกำเนิดของ 18 อรหันต์ ยังไม่มีคัมภีร์เล่มใดกล่าวยืนยันหลักฐานได้แน่นอน เนื่องจากในสมัยนั้นจิตกรชาวจีนได้วาดภาพพระอรหันต์เพิ่มขึ้นอีกสององค์ จึงกลายเป็น 18 อรหันต์ ทำให้ภาพของ 18 อรหันต์กลายเป็นที่สามารถพบเห็นอย่างแพร่หลายต่อมา และมักประดิษฐานพระอรหันต์ 18 องค์ไว้สองข้างของพระอุโบสถใหญ่โดยเฉพาะวัดจีนนิกายมหายาน
สุดยอดเหรียญ 18 อรหันต์ ด้านหลังประทับตราพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539 วัดสุทัศน์เทพวราราม ครบชุด 18 องค์ วันเพ็ญกลางเดือน 12 พ.ศ.2539 พร้อมกล่องเดิม ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์เทพวราราม วันที่ 24 พย.2539 ในวันเพ็ญกลางเดือน 12 ด้านหลังเหรียญประทับตราพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ตอกโค๊ตกำกับ สภาพสวยมาก ไม่ผ่านการใช้ สร้างน้อย หายากโดยเฉพาะครบชุด 18 เหรียญ มีชุดเดียวเป็นชุดที่ลงรูปไว้ บูชาครบชุด 18 เหรียญพร้อมกล่องเดิมๆจากทางวัด บริการส่งฟรีทั่วประเทศ mk3dv9
ต้องการชมวัตถุมงคลรุ่นอื่นๆ คลิก พระวัดสุทัศน์เทพวราราม
รับประกันความแท้ 100%
@------ พระเครื่องรุ่นนี้เช่าบูชาไปแล้ว ------@
หากมีเพิ่มเติมจะนำมาลงใหม่พร้อมราคา
@------------- ขอบคุณครับ -------------@
โจ้ อิศวเรศ พระเครื่อง
พระเครื่อง